เลือกภูมิภาคของคุณ

Vacheron Constantin

งานฝีมืออันมีศิลปะตามกาลเวลา

ธีมที่สะท้อนถึงความทุ่มเทต่อความคิดสร้างสรรค์และทักษะความรู้ในด้านงานฝีมืออันยาวนานกว่าสามศตวรรษที่ถ่ายทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ก่อให้เกิดการผลิตนาฬิกาแบบกลไกจักรกลและการผสมผสานอย่างลงตัวของความเชี่ยวชาญในการผลิตนาฬิกาและด้านการประดับตกแต่งของงานฝีมืออันมีศิลปะ

งานฝีมืออันมีศิลปะของเมซงอันเป็นความชาญฉลาดที่เกิดขึ้นจากการลงมือทำ

Vacheron Constantin มักจะถูกนับเป็นงานฝีมืออันมีศิลปะในฐานะส่วนเพิ่มเติมที่ขาดไม่ได้ของการจัดการระบบกลไก Vacheron Constantin มีความมุ่งมั่นในการรักษาและคงไว้ซึ่งความเชี่ยวชาญนี้ ช่างเคลือบ ช่างทำลายกิโยเช่ ช่างอัญมณีและช่างแกะสลักนั้นคือส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้างสรรค์ในระดับเดียวกับดีไซเนอร์และผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตนาฬิกา

ภารกิจในการเสาะหาเทคนิคอันล้ำสมัย

ในภารกิจอันต่อเนื่องยาวนานเพื่อหาไอเดียใหม่ๆ หรือเทคนิคที่ล้ำสมัยนี้ เมซงได้พัฒนาทักษะที่หายากในงานฝีมืออันมีศิลปะเหล่านี้ที่ขาดไม่ได้ในจิตวิญญาณของการผลิตนาฬิกาชั้นเยี่ยมที่ไม่มีใครเลียนแบบได้
เทคนิคดั้งเดิมอย่างภาพวาดลงยาขนาดจิ๋ว การแกะสลัก ประดับเพชร และลวดลายกิโยเช่ยังคงเพิ่มคุณค่าให้แก่เทคนิคที่พัฒนาขึ้นโดย Vacheron Constantin งานฝีมืออันมีศิลปะเหล่านี้ปรากฏอยู่ในผลงานของสถานที่ผลิตอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะในรุ่น Métiers d'Art แต่สามารถพบเห็นได้บ่อยกว่าในทุกคอลเลคชั่น

นาฬิกา Métiers d’Art ชั้นเยี่ยมนี้แสดงให้เห็นถึงงานฝีมืออันมีศิลปะของ Vacheron Constantin

หน้าปัดกิโยเช่สีเงิน ปี 1780

นาฬิกาพก ทำจากเยลโลว์โกลด์แกะสลัก


นาฬิกาพกสีทองจากปี 1780 นี้คือผลงานชิ้นที่เก่าแก่ที่สุดในคอลเลคชั่นส่วนตัวของ Vacheron Constantin ที่มีลวดลายกิโยเช่บนหน้าปัดและตัวเรือน การประดับตกแต่งบนนาฬิกาเรือนนี้เข้ากันกับสไตล์ Louis XVI ได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดดเด่นด้วยองค์ประกอบเรขาคณิตแบบมินิมอลด้วยแรงบันดาลใจของบรรยากาศแบบท้องทุ่งที่แสดงออกมาผ่านผลไม้ ใบไม้ และดอกไม้ที่มักจะตกแต่งด้วยเครื่องดนตรี

1914

นาฬิกาพก ทำจากเยลโลว์โกลด์ลงยา

นาฬิกาจากปี 1914 ที่มีการตกแต่งในธีมของดอกไม้และพืชพันธุ์นี้เข้ากันได้อย่างสมบูรณ์แบบกับเทรนด์อาร์ตนูโวที่โดดเด่นด้วยความโค้งมน และเส้นสายที่ไม่สมมาตรซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติ
นาฬิกาพกเรือนนี้ยังมีรูปทรงเดียวกับไข่ที่แตกต่างจากรูปร่างกลมแบบคลาสสิกของรุ่นต่างๆ ในยุคนั้น และชวนให้นึกถึงไข่ที่เป็นแหล่งกำเนิดของชีวิตที่เป็นตัวแทนของผู้หญิงซึ่งเป็นอีกหนึ่งธีมโปรดของศิลปะแบบอาร์ตนูโว

หน้าปัดลงยา ปี 1953

นาฬิกาเยลโลว์โกลด์

รุ่นหมายเลขอ้างอิง 4217 ได้เดินตามรอยเท้าของนาฬิกาเรือนแรกของเมซงที่เริ่มผลิตในช่วงยุค 1930 นาฬิการุ่นเยลโลว์โกลด์ที่ขับเคลื่อนด้วยคาลิเบอร์ 454 พร้อมเข็มวินาทีตรงกลางหน้าปัดนี้มาพร้อมลุคที่เรียบง่ายที่แตกต่างจากการตกแต่งอย่างละเอียดอ่อนบนหน้าปัดที่มีชีวิตชีวาขึ้นด้วยหลักชั่วโมงรูปพีระมิด x0002 และการเคลือบแบบคลัวซอนเน่อันงดงาม

นาฬิกาในคอลเลคชั่น Métiers d'Art แสดงให้เห็นถึงการร่วมมือกันระหว่างเทคนิคการตกแต่งและศิลปะที่นำมาประยุกต์ใช้กับการทำนาฬิกาและเครื่องประดับอัญมณี